Last updated: 22 พ.ค. 2566 | 9292 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัญหาที่ทุกคนมักจะคาใจ เวลาไปซื้อน้ำผึ้ง พอกลับมาบ้าน ทิ้งไว้ พบว่าเกิดเป็นตกผลึก ซะอย่างนั้น!! หลายคนก็นึกโกรธคนขายว่าเอาน้ำผึ้งปลอมมาหลอกขายรึเปล่า ทะเลาะกันบ้างก็มี เพราะราคาก็สูงเอาเรื่อง...แอดมินอยากบอกว่า อย่าเพิ่งเถียงกันค่ะ..ปริศนาเรื่องนี้มีคำตอบค๊าาา..^_^
รู้หรือไม่น้ำผึ้งแท้ก็ตกผลึกได้นะ!!
น้ำผึ้งที่เราซื้อไว้บางทีเวลาผ่านไปนาน เราตั้งทิ้งไว้นานไม่ค่อยได้ใช้ พอกลับไปเห็นอีกทีน้ำผึ้งที่ทิ้งไว้เกิดตกผลึก หลายคนอาจจะตกใจนะคะ บางคนเนี่ยเอาไปทิ้งเลยคิดว่าเป็นน้ำผึ้งปลอม หรือบางคนอาจจะกังวล จะกินต่อหรือทิ้งดี เพราะไม่รู้ว่าเป็นน้ำผึ้งแท้หรือป่าว แต่เดี๋ยวก่อนอย่าพึ่งทิ้งนะคะ รู้หรือไม่คะว่าจริงๆแล้วเนี่ยน้ำผึ้งแท้ 100% ก็เกิดการตกผลึกได้นะคะ
น้ำผึ้งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลฟรุกโตส กับน้ำตาลกลูโคส รวมกัน ประมาณร้อยละ 69.47 ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียว ที่สามารถย่อยได้ง่าย และก็มี น้ำตาลชนิดอื่น ๆ กรด โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ด้วยอีกมากมายค่ะ
ผลึกของน้ำผึ้งที่เราเห็นเนี่ย ก็คือ เจ้าตัวน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดการตกตะกอนแยกตัวจากน้ำผึ้งค่ะ ซึ่งถ้าในน้ำผึ้งของเรามีน้ำตาลกลูโคสมาก และมีน้ำน้อย ก็จะทำให้การตกผลึกเกิดขึ้นเร็วนั่นเองค่ะ การเก็บน้ำผึ้งไว้ในอุณหภูมิ 13 – 14 องศา เซลเซียส น้ำผึ้งก็จะเกิดการตกผลึกได้เร็วเช่นกันนะคะ สารชักนำอื่นๆที่อยู่ในน้ำผึ้งก็มีผลนะคะ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ที่แขวนลอยอยู่นั้น พออุณหภูมิลดลงก็สามารถทำให้เกิดการตกผลึกได้ค่ะ ในต่างประเทศหลายประเทศก็พบน้ำผึ้งตกผลึกเหมือนกันนะคะ และก็มีความนิยมในการซื้อบริโภคและจำหน่ายน้ำผึ้งตกผลึกกันอย่างแพร่หลายเลยล่ะค่ะ หรือใครยังไม่แน่ใจเนี่ยก็สามารถเช็คผลึกของน้ำผึ้งได้นะคะ ซึ่งเจ้าตัวผลึกของน้ำผึ้งแท้ จะเล็กละเอียด ฟูนุ่ม ไม่แข็งค่ะ เมื่อนำมาหยดลงบนนิ้วของเราแล้วใช้นิ้วประกบและคลึง ก็จะละลายง่าย ซึ่งถ้าเป็นผลึกของน้ำตาลก็จะละลายยาก และแข็งกว่าค่ะ
แล้วยังนำกลับมากินได้ไหม??
ขอตอบว่า! น้ำผึ้งที่ตกผลึก ยังคงสามารถรับประทานได้ตามปกติค่าาา หรือใครที่ไม่ชอบนำไปกิน หรือใช้ตอนที่ยังตกผลึกอยู่ ก็สามารถนำน้ำผึ้งไปอุ่นในอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา เพื่อให้ผลึกละลายก็ได้ค่ะ รู้แบบนี้แล้ว หันไปเจอน้ำผึ้งที่บ้านตกผลึก ก็อย่าพึ่งตกใจกันนะคะ เพราะว่าน้ำผึ้งแท้ 100 % ก็ตกผลึกได้ค่าา
เรียบเรียงโดย Hillkoff Academy
25 ต.ค. 2567
1 มิ.ย. 2566
17 ส.ค. 2567