ความเชื่อที่ว่า กาแฟคั่วเข้มมีปริมาณคาเฟอีนมากกว่ากาแฟคั่วอ่อน จริงหรือไม่ ?

Last updated: 21 ก.ค. 2567  |  1481 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความเชื่อที่ว่า กาแฟคั่วเข้มมีปริมาณคาเฟอีนมากกว่ากาแฟคั่วอ่อน จริงหรือไม่ ?

ความเชื่อที่ว่า กาแฟคั่วเข้มมีปริมาณคาเฟอีนมากกว่ากาแฟคั่วอ่อน จริงหรือไม่ ?

การบริโภคกาแฟในปัจจุบันมีได้รับความนิยมทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของรสชาติ กรรมวิธีการสกัดกาแฟจากอุปกรณ์เครื่องมือที่มีตัวเลือกมากมาย ทำให้ผู้บริโภคต่างชื่นชอบและหลงไหลกับเครื่องดื่มกาแฟเป็นอย่างมากและด้วยสารสำคัญอย่าง คาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งเป็นสารเมทิลแซนทีน (Methylxanthine) ที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว ลดความง่วงได้ รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามีแรง แม้คาเฟอีนเป็นสารที่มีรสขม แต่ด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์จึงทำให้คาเฟอีนถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น คาเฟอีนสกัดในเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น จึงทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า รสขมจากกาแฟคั่วเข้มจะมีปริมาณคาเฟอีน มากกว่า ระดับการคั่วอ่อน-กลาง ซึ่งจริงหรือไม่นั้นเราจะมาอธิบายไขข้อสงสัยกันครับ

หากพูดถึงระดับกาแฟคั่วในปัจจุบันนั้นโดยมาตรฐานจะมีทั้งหมด 3 ระดับ คือ กาแฟคั่วอ่อน กลาง และ เข้ม ซึ่งกาแฟแต่ละระดับการคั่วต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จะตอบโจทย์คอกาแฟในมิติที่ต่างกัน ไม่ว่าจะด้านกลิ่นหอม (Aroma) หรือ รสชาติ (Taste Note) ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากคาแรคเตอร์ที่ของกาแฟที่ได้จากกระบวนการคั่วกาแฟ และแหล่งปลูก หากเป็นกาแฟคั่วอ่อนจะคงไว้ซึ่งรสชาติเปรี้ยวและกลิ่นรสที่เอกลักษณ์ คั่วกลางจะให้รสชาติที่หอมนุ่ม เปรี้ยวปลายลิ้น ส่วนคั่วเข้มจะได้อโรม่าที่หนักแน่น รสเข้ม จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินว่าระดับการคั่วเข้มต้องมีคาเฟอีนมากกว่า ซึ่งในทางกลับกันมีงานวิจัยจาก University of Porto ที่ระบุว่าไม่ว่าจะเป็นการคั่วระดับใดปริมาณคาเฟอีนที่วัดได้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป กระทั่งคั่วกาแฟด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่า 240 องศาเซลเซียส ซึ่งความร้อนเกินกว่ามาตรฐานการคั่วกาแฟจุดนั้นจะทำให้ปริมาณคาเฟอีนจึงจะเริ่มลดลงและสูญเสียคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟไป ดังนั้นคาเฟอีนในแต่ระดับการคั่วอาจไม่มีความแตกต่างกันมาก

ไม่ว่าจะเป็นกาแฟคั่วระดับใดก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การสกัดที่ถูกต้องและสามารถดึงคาเฟอีนในกาแฟออกมาได้อย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับว่าเราใช้วิธีการสกัดกาแฟรูปแบบใด เช่น แบบแรงดัน (Pressure) หรือ แบบฟิลเตอร์ (Filter) ซึ่งในแต่ละวิธีก็จะมีกระบวนการสกัดที่แตกต่าง และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณคาเฟอีน เช่น ระดับเบอร์บดกาแฟ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ อุณหภูมิความร้อนของน้ำ ระยะเวลาในการสกัด และ Ratio Brewing เป็นต้น ดังนั้นเราควรเลือกระดับการคั่วและวิธีการสกัดที่ชื่นชอบและทำให้ถูกวิธี พร้อมดื่มด่ำกาแฟแก้วโปรด

เรียบเรียงโดย : Hillkoff Academy

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้ Cookies Policy