เจาะลึกการเลือกพิชเชอร์อย่างไรให้เหมาะสม ?

Last updated: 24 ก.ค. 2567  |  1299 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เจาะลึกการเลือกพิชเชอร์อย่างไรให้เหมาะสม ?

เจาะลึกการเลือกพิชเชอร์อย่างไรให้เหมาะสม ?

การสตีมนม ถือเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่สำคัญในสายอาชีพ บาริสต้า ที่ต้องใช้การฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ฟองนมที่ดีนั้นจะมีความเนียนละเอียดในระดับที่เรียกว่าเป็น Micro Foam หรือ ฟองขนาดเล็ก ซึ่งแน่นอนว่าการสตรีนม มาคู่กับเมนูเครื่องดื่มที่ต้องใช้ทักษะมาเกี่ยวข้อง เช่น เมนูคาปูชิโน่ร้อน ที่ต้องสตรีมฟองนมให้มีความหนา เนียนนุ่ม (Dry Foam) หรือ เมนูลาเต้ร้อน ฟองนมเนื้อครีมที่มีความหนาเพียงเล็กน้อย (Wet Foam) เหมาะสำหรับการทำศิลปะบนแก้วกาแฟ ที่เราเรียกว่าลาเต้อาร์ตนั้นเอง (Latte Art) 

นอกจากการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญเเล้วนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์พิชเชอร์ (Pitcher) ให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อการตีฟองนมและลาเต้อาร์ตอย่างมาก พิชเชอร์ที่จำหน่ายโดยทั่วไปในท้องตลาดนั้น ต่างก็มีความหลากหลายทั้งรูปแบบดีไซน์ ขนาด รูปร่าง รูปทรงปากเหยือก รวมถึงน้ำหนักของพิชเชอร์ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อการเทลาเต้อาร์ตทั้งสิ้น บทความนี้เราจะแนะนำเทคนิคดีๆสำหรับการเลือกพิชเชอร์ให้เหมาะสมกันนะครับ

พื้นฐานในการเลือกพิชเชอร์
1. ขนาดของพิชเชอร์ให้เหมาะสมกับตัวเรา
สิ่งที่สำคัญขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมที่ต้องการใช้ในการเสริฟเครื่องดื่ม และมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการสตีมนมและสร้างฟองนม หากเลือกพิชเชอร์ขนาดเล็กที่บรรจุปริมาณนมได้น้อยอาจไม่สัมพันธ์กับความแรงของท่อสตรีมนมเครื่องชงกาแฟใหญ่ อาจทำให้นมที่สตรีนมล้นออกมาได้ ควรเลือกพิชเชอร์ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดความแรงดันไอน้ำ หากใช้พิชเชอร์ขนาดใหญ่เกิดไป อาจทำให้นมเหลือจากการสตรีมได้ หรือ เครื่องชงกาแฟบางยี่ห้ออาจจุ่มก้านสตีมลงไปในพิชเชอร์ไม่ลึกพอ ทำให้การตีฟองนมได้ไม่เต็มที่ 

 

ตัวอย่างการเลือกขนาดพิชเชอร์
- พิชเชอร์ขนาด 300-420 ml. เหมาะกับการเทลาเต้อาร์ตแก้วเล็ก ( 6 Oz. ) ใช้นมน้อยและประหยัดนมในการสตรีม
- พิชเชอร์ขนาด 500-600 ml. เหมาะกับการเทลาเต้อาร์ตแก้วใหญ่ ( 8 Oz.) หรือ ทำเครื่องดื่มที่ต้องใช้ Dry Foam
- พิชเชอร์ขนาด 700 ml. ขึ้นไปเหมาะสำหรับร้านกาแฟที่รองรับลูกค้าในปริมาณที่มาก ใช้ความรวดเร็วในการทำเครื่องดื่มหลายแก้ว ใช้สตรีมนมทีเดียวครั้งละมากๆ เพื่อเทลาเต้อาร์ต หรือ ฟองนมคาปูชิโน่ มอคค่า


2. รูปทรง/รูปแบบของพิชเชอร์
ปัจจุบันรูปแบบของพิชเชอร์มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานของบาริสต้าขึ้นอยู่กับความถนัดหรือความสะดวกเมื่อเทนมหรือการทำลาเต้อาร์ตต่างๆ 

 

 

  • พิชเชอร์ทรงมาตรฐาน นิยมใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับการเทลาเต้อาร์ตได้หลากหลาย ทั้ง Basic และ Advanced พิชเชอร์มีหูจับ สามารถควบคุมได้ทั้งการสะบัดข้อมือ ซ้าย-ขวา-เดินหน้า-ถอยหลังได้อย่างดี
  • พิชเชอร์แบบไม่มีหูจับ (No Handle) พิชเชอร์ไร้หูจับแต่จะมีแผ่นซิลิโคนกันความร้อนสวมใส่ที่พิชเชอร์แทน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่มีความเกร็งมือ / มือสั่น ไม่ค่อยมั่นใจ พิชเชอร์รูปทรงนี้ช่วยเสริมการขึ้นรูปด้วยการเทแบบส่งแรงดันของนม หรือ แรงสะบัดจากข้อมือสู่พิชเชอร์โดยตรงได้ สามารถควบคุมเส้นนมได้ง่าย
  • พิชเชอร์แบบทรงเทเอียง พิชเชอร์รูปทรงนี้ถูกออกแบบมาให้ปากเหยือกเทลาดเอียงขึ้นไป และมีรางน้ำที่สั้น ทำให้ง่ายต่อการบังคับการเทน้ำนม และมีระยะการในการเทนมง่ายขึ้น (ปากพิชเชอร์ใกล้กับแก้ว) และสามารถบังคับนมให้ไหลช้า เหมาะสำหรับคนที่เทเร็วและต้องการเทให้ช้าลงเพื่อให้ลายลาเต้อาร์ตชัดขึ้น
  • พิชเชอร์ทรง Europa พิชเชอร์รูปทรงจากอิตาลี ปากพิชเชอร์มีความยาวและกลม เพื่อช่วยเพิ่มการไหลของนม หรือ flow rate ให้แรงขึ้น ทำให้เทง่าย เป็นมิตรกับมือใหม่ ปากที่โค้งกำลังพอเหมาะสามารถฝึกฝนลาย ทำลายพื้นฐานที่ใช้การดันฟองนม เช่น Tulip

3. รูปทรงปากพิชเชอร์
  ปากพิชเชอร์เสมือนปากกาหรือดินสอที่มีผลต่อความคมชัดของลวดลายลาเต้อาร์ต หากต้องการลวดลายขนาดใหญ่ รูปทรงกว้างแนะนำให้ใช้พิชเชอร์ปากทรงกลม ( Round Spout ) และ หากต้องการความคมชัดควรเลือกแบบปากแหลม ( Sharp Spout )


  • ปากทรงกลม (Round Spout) เส้นนมที่ไหลออกมาจะมีขนาดใหญ่ นมไหลมากและเร็ว ระยะเวลาในการเทที่น้อย นมเต็มแก้วเร็ว เหมาะสำหรับลายพื้นฐาน Heart, Tulip, Slow Rossetta, Wing Tulip 
  • ากทรงแหลม (Sharp Spout) เส้นนมที่ไหลออกมาจะมีขนาดเล็ก เส้นคมชัด นมไหลช้ากว่า ระยะเวลาในการเทที่นานขึ้น นมเต็มแก้วช้า จึงเหมาะสำหรับทำลวดลาย Wing Heart, Wing Tulip, Rosetta, Swan และลาย Advanced ต่างๆได้ดี


    4. วัสดุที่ใช้ในการทำพิชเชอร์
    พิชเชอร์ที่ควรเลือกใช้จะต้องทำจากสแตนเลส (Stainless) คุณภาพสูง เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน ใช้กักเก็บความร้อนและสามารถนำความร้อนได้ดีขณะสตรีมนม หรือ พิชเชอร์ที่มีการเคลือบเทฟล่อน (Teflon) ที่สามารถคุมการสัมผัสความร้อนของนิ้วมือได้มากขึ้นและที่สำคัญต้องง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่ดูดซับกลิ่นนมไว้ที่พิชเชอร์ 

5. น้ำหนักของพิชเชอร์
น้ำหนักของพิชเชอร์มีบทบาทสำคัญในการทำลาเต้อาร์ต เพราะมีผลต่อการควบคุมการเทนมและการสร้างลวดลายบนพื้นผิวกาแฟ หากเลือกพิชเชอร์มีความหนัก ส่งผลให้เกิดความหน่วงมือ สะบัดมือได้ไม่เต็มที่ ทำให้การควบคุมการเทนมไม่มั่นคงควบคุมได้ยาก หากเลือกพิชเชอร์ที่มีน้ำหนักปานกลางหรือพอดีกับน้ำหนักของมือจะให้ความสมดุลที่ดี ช่วยให้บาริสต้าสามารถเทนมได้อย่างราบรื่นและสม่ำเสมอ พิชเชอร์ที่มีน้ำหนักปานกลาง (ประมาณ 200-300 กรัม สำหรับขนาด 8-12 ออนซ์ )

อ่านโพสนี้จบแล้วหวังว่าทุกท่านจะได้เทคนิคการเลือกพิชเชอร์ให้เหมาะสมกับตนเอง แบบไหนจะถนัดมือเราที่สุด ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เราจำเป็นที่จะต้องหยิบมาพิจารณาดูร่วมด้วย และที่สำคัญอย่าลืมฝึกฝนการสตรีมนมกับพิชเชอร์ที่เลือกและสร้างสรรค์ลวดลายลาเต้อาร์ตต่อไป
.

.
เรียบเรียงโดย : Hillkoff Academy

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้ Cookies Policy