Last updated: 14 มิ.ย. 2566 | 2256 จำนวนผู้เข้าชม |
ในสูตรลดน้ำหนัก หรือคอร์สการลดน้ำหนัก ตารางการทานอาหารต่างๆเพื่อควบคุมลดน้ำหนักในบางตำรา เรามักจะเห็นกันใช่ไหมคะว่าจะมีเมนูกาแฟเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งเมนูที่จะเห็นเป็นประจำนั่นก็คือกาแฟดำ หรืออเมริกาโน่ ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยกาแฟมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่ วันนี้ไปไขคำตอบพร้อมกันเลยค่า
สารในกาแฟตัวหลักๆที่เรารู้จักกันดีนั่นก็คือ คาเฟอีน หลายๆคนที่ดื่มกาแฟก็เพื่อต้องการคาเฟอีนให้เข้าไปกระตุ้นในสมองตื่นตัว และทำให้เราไม่ง่วง แล้วรู้หรือไม่คะว่า ในเชิงพาณิชย์นั้นเค้าใช้เจ้าตัวสารคาเฟอีนมาเป็นอีกหนึ่งสารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม ที่มีฤทธิ์ หรือช่วยเผาผลาญไขมัน
ในการวิจัยพบว่าเราพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจำนวนมาก ในส่วนสุดท้ายของช็อตกาแฟ ซึ่งสารพวกนี้ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิซึมหรือการเผาผลาญในหลายคน ซึ่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกาแฟยกตัวอย่างเช่น
คาเฟอีน ( Caffeine ) สารกระตุ้นหลักอยู่ในกาแฟที่ทุกคนรู้จักกันดี
ธีโอโบรมีน ( Theobromine ) สารอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่งพบมากในโกโก้ และพบได้เล็กน้อยในกาแฟ มีฤทธิ์ในการช่วยขับ ปัสสาวะ กระตุ้นการทำงานของหัวใจและช่วยในการขยายหลอดเลือด
ทีโอฟิลลีน ( Theophylline ) สารกระตุ้นอีกตัวที่ซ่อนอยู่ในโกโก้และกาแฟ โดยมีสรรพคุณคล้ายๆกับธีโอไบรมีน โดยทางการแพทย์ได้มีการนำมาใช้รักษาโรคหอบหืด
กรดคลอโรจีนิค ( Chlorogenic acid ) เป็นอีกหนึ่งสารสำคัญที่ซ่อนอยู่ในกาแฟจำนวนมาก โดยกรดคลอโรจีนิค เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ช่วยชะลอการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรตได้ ทั้งยังช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกายและป้องกันการสะสมไขมันในตับอีกด้วย
โดยทั้งหมดที่กล่าวรวมกันมานั้น คาเฟอีนถือเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเมื่อเรารับคาเฟอีนเข้าไปในร่างกาย คาเฟอีนจะเข้าไปปิดกั้นทำงานของโมเลกุลอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งจะเป็นสารเคมีที่ลดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และยังเป็นสารที่ส่งเสริมการนอนหลับอีกด้วย พูดได้อีกแบบก็คือ ตัว โมเลกุลอะดีโนซีน จะมีตัวรับที่เรียกว่า Adenosine receptor โดยเมื่อโลกุลอะดีโนซีนเข้าไปจับตัวกับตัวรับของมันมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้เรารู้สึกง่วงนอนนั่นเองค่ะ แต่เมื่อเรารับคาเฟอีนเข้าไปในร่างกาย ตัวคาเฟอีนจะเข้าไปแยังกันจับกับโมเลกุลของอะดีโนซีน และปิดกั้นการทำงานของตัวรับอะดีโนซีน ( Adenosine receptor ) ซึ่งเมื่อทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถจับตัวกันได้ ก็จะทำให้ร่างกายของเรารู้สึกไม่ง่วง และกระปรี้กระเปร่าขึ้นนั่นเองค่ะ และนอกจากนี้ผลของมันยังช่วยให้เรารู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้น เมื่อเรารู้สึกเหนื่อย และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราโดยเฉลี่ย สูงถึง11-12% เลยค่ะ พูดอีกอย่างก็คือเราสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นนั่นเองค่า
คาเฟอีนจะทำงานโดยไปกระตุ้นระบบประสาทที่ส่งสัญญาณไปที่เซลล์ไขมันโดยตรง โดยจะไปกระตุ้นการหลังอะดีนาลีนทำให้ร่างกายตื่นตัว และหลังจากเมื่ออะดีนาลีนไหลตามเลือดของเราผ่านเนื้อเยื่อไขมัน เยื่อไขมันพวกนี้ก็จะถูกสลายให้กลายไปเป็นกรดไขมันและเข้าสู่เส้นเลือดเพื่อพร้อมสำหรับการเผาผลาญต่อไป
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนะคะ ไม่ได้หมายความว่าการที่เราดื่มกาแฟไปแล้วจะทำให้เราผอมเลย คาเฟอีนแค่ช่วยในระบบเผาผลาญไขมันทำงานได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ดังนั้นเราควรจะคำนวณการทานให้ได้แคลลอรี่ที่น้อยลง หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อให้คาเฟอีนช่วยให้เผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น และทำให้เราลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้นค่ะ
แล้วต้องรีบคาเฟอีนเข้าไปเท่าไหร่ เพื่อช่วยเพิ่มระบบการเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น??
Metabolic rate หรือ อัตราที่ร่างกายของเราจะเผาผลาญพลังงาน/หรือใช้พลังงานในรูปแคลอรีซึ่ง ซึ่งอัตราในส่วนนี้ก็จะขึ้นอยู่ที่อายุ สุขภาพ เพศ อุณหภูมิร่างกาย และอีกหลายปัจจัยส่วนบุคคลที่สำคัญค่ะ
ในระบบเผาผลาญของร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Resting Metabolic Rate ( RMR ) คือ อัตราที่ร่างกายเผาผลาญในขณะที่ร่างกายเราพักเช่น การหายใน การทำงานของปอด หรือขณะที่ร่างกายเราพักหลังจากการทำกิจกรรม โดยในแต่ละคนก็มีค่า RMR ที่ต่างกัน โดยเมื่อายุเพิ่มขึ้น ระบบ RMR ก็จะลดลงเช่นกัน ทำให้อ้วนง่ายขึ้นค่ะ
ซึ่งในบางครั้งเราอาจะสังเกตุเห็นคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน นั่นก็เพราะคนเหล่านั้นมีอัตรา RMR ที่สูงติดตัวมาตั้งแต่ต้นนั่นเองค่า ซึ่งในจากการวิจัยพบว่าคาเฟอีนสามารถเพิ่มอัตราค่า RMR ได้ถึง 3-11% กันเลยทีเดียว
การดื่มกาแฟช่วงแรกเพื่อช่วยเพิ่มอัตราเผาผลาญในร่างกาย ในช่วงแรกอาจจะได้ผลดี แต่ในระยะยาว เมื่อเราดื่มกาแฟบ่อยๆ ร่างกายทนต่อผลกระทบของคาเฟอีนได้ ก็จะทำให้สรรพคุณที่ช่วยในเรื่องอัตรากาเผาผลาญไขมันลดลง แต่อย่างไรก็ตามนะคะมีผลวิจัยว่า คาเฟอีนมีโอกาสที่จะลดความอยากอาหารของเรา และช่วยให้เรากินน้อยลงด้วย แต่อย่างไรก็ตามในข้อนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าคาเฟอีนช่วยในการลดน้ำหนักระยะยาวด้วยหรือไม่บางครั้งผลลัพธ์ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลนะคะ
เรียบเรียงโดย : Hillkoff Academy
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
https://www.healthline.com/nutrition/how-to-lose-weight-as-fast-as-possible?utm_source=ReadNext#bottom-line
17 ส.ค. 2567
25 ต.ค. 2567